เคยไหม… ตัดเเว่น มาเเล้วใส่ไม่ได้ มองไม่ชัดหรือชัดเกินไป ใส่แล้วงง…. แบบนี้ควรทำอย่างไร ?
การทำ แว่นตา สัก 1 อัน เพื่อให้ใส่ได้อย่างสบายตา คมชัด จะขึ้นอยุ่กับองค์ประกอบหลากอย่าง แต่อย่างเเรกที่ควรคำนึง คือ ผู้ที่มีปัญหาด้านสายตาเอง หากคุณมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี โอกาศที่จะได้แว่นตาชัดๆ ก็มีมากกว่าผู้ที่เป็นโรคทางกาย เช่น เบาหวาน ซึ่งจะมีค่าสายตาเปลี่ยนเเปลงบ่อย ดังนั้นคนในกลุ่มนี้จึงมีปัญหาเรื่องเเว่นตาที่มองไม่ชัด ทั้งๆที่เพิ่งตัดแว่นมาได้ไม่ทันไรทำไมมัวอีกแล้ว หรือเป็นโรคความดันตาสูงๆ มาเป็นระยะเวลายาวนาน จอตาจะเกิดการขาดเลือดส่งผลให้ตามัว อย่างไรการแก้ไขด้วยแว่นตาก็ไม่ชัด จึงควรตรวจสุขภาพตาทุกๆ2 ปี หรือ 1ปี
ความผิดปกติของสายตา ความผิดปกติทางสายตาที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความชัดและความมึนงงเมื่อเริ่มใส่แว่นแตกต่างกันด้วย เช่นสายตาเอียงมากในแกนองศาแนวเฉียง (oblique) ทำให้ปรับตัวกับแว่นใหม่ค่อนข้างยากกว่า เพราะการรับรู้ภาพจะเปลี่ยนไป อาจเห็นพื้นเอียงนูน ลึกต่ำลงไปหรือสูงขึ้น แต่สภาวะนี้จะเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน (ขึ้นอยู่กับสายตาเอียงมากหรือน้อย) แล้วหลังจากนั้นสมองจะปรับได้เอง คุณก็จะเห็นพื้นเรียบ ภาพปกติขึ้น แต่มีบางกรณีที่แก้ไขสายตาให้ได้ไม่หมด หรือแก้ไขในสายตาน้อยๆก่อน เพื่อให้ปรัยตัวได้ในระยะแรก จะได้ไม่งง แต่ก็ทำให้ความชัดเจนลดตามไปด้วยนั้นเอง จึงเป้นอีกเหตุผลว่าทำไมแว่นตาเพิ่งตัดมาแล้วยังไม่คมชัด
การสื่อสารในขั้นตอนของการตรวจวัดสายตา อีกปัญหาที่พบได้บ่อยในการสื่อสารขณะตรวจวัดสายตา ผู้ตรวจต้องการข้อมูลที่บ่งบอกถึงการรับรู้ของผู้ถูกวัดสายตา แต่ผู้ถูกวัดสายตาที่มีปัญหาด้านสายตาในบางเคสอาจไม่เข้าใจในคำถามหรือไม่เเน่ใจในคำตอบว่า เห็นเป็นอย่างไร หรือชัดอย่างไร ทำให้เปรียบเทียบผลการมองไม่ได้ หรือไม่มีสมาธิในการตรวจวัดสายตา ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อการประเมินเพื่อตัดสินใจในการจ่ายค่าสายตาที่เหมาะสม เพื่อให้คุณได้เเว่นตาที่ดี คมชัด สบายตา
ดังนั้นหากเกิดการผิดพลาดในขั้นตอนนี้ส่งผลให้แว่นตาที่ตัดมานั้น อาจชัดแต่มึนงง หรือไม่ชัด ก็เป็นได้
ความผิดพลาดจากผู้ตรวจวัดสายตา อีกปัจจัยที่ทำให้ แว่นตา ไม่ชัดเจนหรือชัดมากจนมึนงง มาจาก ผู้วัดสายตา อาจมีการจดบันทึกผิดพลาด หรือการทดสอบบางขั้นตอนผิดพลาด โดยเฉพาะการประเมินภาวะการเพ่ง และการคลายกล้ามเนื้อตา มักทำให้การวัดสายตาในเด็กวันเรียน หรือผู้ที่ใช้สายตาระยะใกล้มากๆ หรือผู้ที่ใช้คอมพิวเตอรืติดต่อมากกว่า 3-4 ชม. ขึ้นไป ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มักมีอาการ เลนส์ตาเพ่งค้าง เกิดจากกล้ามเนื้อตาเกิดการเกร็ง ถ้าใช้เครื่องตรวจ วัดสายตา ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเดียว มักผิดพลาด ค่าสายตาจากเตรื่องผลจะออกมาว่าเป็นสายตาสั้นมากๆ ทั้งที่ผู้ถูกวัดสายตาอาจไม่ได้มีปัญหาสายตาที่สั้นมากแต่อย่างใด
หากผู้ตรวจจ่ายเลนส์แว่นตามผลจากคอมพิวเตอร์อย่างเดียว แว่นที่ตัดไปย่อมใส่แล้วชัดมากแต่จะมึนงงและไม่สบายตา ยังส่งผลให้เกิดสายตาสั้นขึ้นอย่างรสดเร็วจากการให้ค่าสายตาที่โอเวอร์อีกด้วย
การวัดค่าพารามิเตอร์ไม่ถูกต้อง การวัดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ไม่ตรง หรือผิดพลาดโดยไม่สอดคล้องกับเลนส์ในแต่ละชนิด ก็ทำให้ใส่แว่นไม่ชัดเท่าที่ควรจะเป็น หรือภาพมัวหากโครงสร้างเลนส์ซับซ้อน เช่น เลนส์โปรเกรสซีฟ
ทรงแว่นตาเสียรูป ตัวเเว่นเสียรูปทรง แว่นที่เบี้ยวหรือหรือเเว่นแอ่นออก โค้งเข้า ขาเเว่นเบี้ยวกางไปข้างหนึ่ง ทำให้โฟกัสของแว่นตาเสียไป ส่งผลต่อค่าสายตาที่เปลี่ยนเเปงไป เนื่องจากเเสงตกลงสู่จอตาผิดตำแหน่ง ทำให้เกิดการอาการมึนงงและมัว มักจะมีผลมากในผู้ที่มีค่าสายตาสูงๆ สายตาเอียงมากหรือเลนส์โปรเกรสซีฟ
ปัญหาที่พบมากที่สุด ปัญหาจากตัวแว่นเดิมที่ใส่มานานมากๆนั้น มีค่าพารามิเตอร์ที่ไม่ตรง เมื่อใส่ไปนานๆทำให้สมองเกิดการปรับตัวจึงรู้สึกชินและรู้สึกชัดกับแว่นที่ใส่อยู่
เมื่อมา ตัดเเว่น ใหม่ที่ได้ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมถูกต้อง คุณก็จะยังรู้สึกมึนงง ไม่สบายตาในระยะแรก ในบางรายอาจใส่ไม่ได้เลยก็มี ทั้งๆที่ค่าสายตาและพารามิเตอร์ทุกอย่างถูกต้อง
ซึ่งเป็นผลมาจากความคุ้นเคยกับสิ่งที่ผิดพลาดมาตลอด เช่น เกิด Prism effect ทำให้การปรับตัวจะใช้เวลานานกว่าและบางรายอาจต้องใช้เลนส์ชนิดพิเศษในการช่วยเรื่องกล้ามเนื้อตา เลนส์ปริซึม จึงจะเห็นชัด
เมื่อทราบถึงสาเหตุของการ ตัดเเว่น แล้วทำไมไม่ชัดแล้ว การเตรียมตัวในการตรวจวัดสายตาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่ทำการตรวจวัดสายตาที่ต้องเตรียมตัวก่อนทำการตรวจวัดสายตาให้แก่คุณด้วยเช่นกัน