เลนส์ PLUS Technology.
Eye care Service
บอกลา…อาการตาล้า !!!
เพิ่มความผ่อนคลายให้ดวงตาขณะอ่านหนังสือ ทำงานคอมพิวเตอร์ ทำเอกสาร บัญชี หรือกลุ่มที่ต้องใช้สายตาใกล้ๆเป็นเวลานานๆ
ด้วย PLUS TECHNOLOGY เป็นการเพิ่มค่ากำลังเลนส์ลงที่ส่วนล่างของเลนส์เป็นตัวช่วยอย่างมากที่ทำให้ดวงตาสามารถปรับการมองเห็นในระยะที่ต่างกันได้ง่ายดายขึ้น โซนการอ่านหนังสือของเลนส์ plus technology สามารถปรับแต่งให้เข้ากับพฤติกรรมในการมองและไลฟ์สไตล์ของคุณได้อย่างลงตัว
ช่วยให้ดวงตาของคุณผ่อนคลายจากความเมื่อยล้าในการมองสลับไปมาจากหนังสือหรือจอคอมพิวเตอร์ และสามารถมองเห็นรายละเอียดต่างๆได้อย่างแม่นยำ มอบประโยชน์สูงสุดให้การทำงานและการใช้เวลาพักผ่อนของคุณได้อย่างเต็มที่

ทำไมต้องใช้ PLUS Technology
ในการใช้สายตา มองไกล มองใกล้ สลับไปมา หรือเปลี่ยนระยะในการมองแต่ละครั้งนั้น เลนส์ตาต้องปรับโฟกัสตัวเองไปๆมาๆ ซึ่งในขณะที่กำลังปรับนั้น ต้องใช้พลังงานสูงในการที่จะบังคับกล้ามเนื้อภายในลูกตา (ciliary muscle) ให้เลนส์ตาเกิดการเปลี่ยนทรง (shape change) ให้นูนมากขึ้น และในคนไข้บางคนที่กำลังเพ่งนี้อ่อนแรง ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเพ่งของเลนส์ตา ได้แก่
เลนส์มีแรงเพ่งไม่พอ (accommodative insufficiency ) ทำให้ไม่สามารถเพ่งดูใกล้ได้
เลนส์เปลี่ยนโฟกัสช้า (Accommodative Infacility)ทำให้เกิดภาพมัวขณะเปลี่ยนระยะการมอง
เลนส์ตาเกร็งค้าง (Accommodative Spasm) มักทำให้มองไกลมัวหลังจากดูใกล้เป็นเวลานาน เนื่องจากเลนส์ล้าแต่ต้องฝืนเพ่งทำให้เกิดตะคิว (spasm) เลนส์ล๊อค และเมื่อละสายตาไปมองไกล เลนส์ตาไม่ยอมคลาย ก็จะทำให้มองไกลมัว คล้ายคนสายตาสั้น แต่เป็นแค่ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้มัวต่อเนื่องเหมือนคนสายตาสั้น
เลนส์ตาเพ่งต่อเนื่องนานไม่ได้ ( Ill-sustain Accommodation) อาการคือเลนส์ตาไม่สามารถเพ่งดูใกล้ต่อเนื่องได้นานๆ ทำให้มองใกล้นานๆแล้วมัว
ซึ่งปัญหาการโฟกัสของเลนส์ตานี้ ทำให้ลดทอนประสิทธิภาพในการทำงานระยะใกล้ ล้าตา เมื่อยตา ปวดเบ้าตา รู้สึกเพลียหลังทำงาน ซึ่งปัญหานี้จะเริ่มเป็นมากขึ้นในคนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปและจะเริ่มหนักเมื่ออายุ 40 ปี จนไม่สามารถโฟกัสได้ด้วยตัวเอง และจำเป็นต้องใช้เลนส์บวก มาช่วยในการเพ่ง ที่เราเรียกว่า “สายตาคนแก่ หรือ Presbyopia”
แต่ในคนที่มาอายุต่ำกว่า 40 ปีนั้น เลนส์ตายังพอดีแรงเพ่งได้ แต่อาจจะมีน้อย หรือล้า หรือไม่แข็งแรง ก็ทำให้เกิดปัญหาในการดูใกล้ได้เช่นกัน
ซึ่ง Plus Technology จะเข้ามาช่วยที่จุดนี้ คือเป็น Addition อ่อนๆ ขัดเป็นโครงสร้างกึ่งโปรเกรสซีฟเข้าไป ที่บริเวณโซนอ่านหนังสือบนตัวเลนส์(ที่ไม่มีระยะกลาง) ซึ่งสามารถเลือก Addition ได้ 2 ค่า คือ +0.50D และ +0.80D ซึ่งในการประเมินว่าจะใช้ Add ค่าไหนถึงจะเหมาะสมนั้น จะต้องใช้ผลจากการตรวจเป็นหลัก
ดังนั้น Plus Technology ทำหน้าที่เหมือนเป็นผู้ช่วย (Accommodation Assistant) ให้กับเลนส์แก้วตา ในการลดภาระการเพ่งของเลนส์ตาขณะดูใกล้ ทำให้การทำงานของของเลนส์ตานั้น ทำงานได้ง่ายขึ้น สบายขึ้น ผ่อนคลายขึ้น ทำได้นานขึ้น แต่ต้องแบ่งเวลาในการพักสายตาด้วย
เลนส์ ที่มี Plus Technology นี้จะมีคุณสมบัติที่โดดเด่น คือ

2.มีการชดเชย power ของสายตาเอียงที่เปลี่ยนไปขณะดูใกล้ ด้วย EyeLT technology ทำให้ได้ภาพที่คมชัด ทั้งไกลและใกล้ จรดขอบเลนส์
3.individula inset ทำให้ inset ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของลูกตาขณะดูใกล้เฉพาะบุคคล โดยการออกแบบจะคำนวณจากค่า PD และค่าสายตาเฉพาะบุคคลและชดเชย Axis ที่เปลี่ยนไปขณะดูใกล้ (EyeLT)

4.ออกแบบโครงสร้างเลนส์เฉพาะบุคคล ซึ่งคำนวณจากสายตาเฉพาะร่วมกับค่าพารามิเตอร์ของกรอบแว่นขณะสวมใส่เฉพาะคน ทำให้ได้กำลังหักเหที่แม่นยำจดขอบเลนส์ (ILT ,individual lens technology)
5.ขัดโครงสร้างตามที่ออกแบบมาด้วย CNC 3D-Freeform Technology ที่มีความละเอียดสูงในระดับไมครอน
6.Effective Near Astigmatism คืออะไร Astigmatism หรือ สายตาเอียงนั้น เมื่อทำการแก้ไข สายตาเอียง (ทั้งกำลังทั้งองศา) สำหรับมองไกลให้ถูกต้องดีแล้ว จะมองไกลคมชัด แต่เมื่อดูใกล้ จะรู้สึกว่า ชัดน้อยกว่าตอนมองที่ระยะไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่สายตาเอียงมากๆซึ่งผลของ effective near astigmatism นี้ จะเพิ่มขึ้นเมื่อ
ค่าสายตาเอียงสูงๆ (ยิ่งเอียงมาก ยิ่งได้รับผลกระทบมาก)
กำลังเพ่งของเลนส์ตา (ถ้าเลนส์ตาต้องเพ่งเยอะ (ในคนที่มีค่าแอดน้อยๆ จะได้รับผลกระทบมากกว่า กลุ่มคนที่เหลือกำลังเพ่งน้อยหรือคนมีอายุที่แอดดิชั่นมาก)
ระยะจากเลนส์ถึงกระจกตา (ยิ่ง CVD มาก ก็จะยิ่งได้รับผลกระทบมาก)
Plus technology จะช่วยให้คนที่มีค่าสายตาเอียงได้ดี เนื่องจากจะทำให้ค่ากำลังหักเหในแต่ละจุดนั้น แม่นยำทั่วทั้งแผ่นเลนส์ มิติภาพที่ได้จึงสามารถให้ความคมชัดได้ถึงขอบเลนส์ ซึ่งนอกจากกำลังสายตาเอียงจะมีการเปลี่ยนแปลงขณะดูใกล้แล้ว องศาของสายตาเอียงเมื่อมองไปยังตำแหน่งต่างๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วย ซึ่งสามารถคำนวณองศาที่เปลี่ยนไปได้ด้วยListign’s Law